ก.ค.ศ.เห็นชอบหลักการใช้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ
มอบศึกษารายละเอียดก่อนเสนอบอร์ด ตั้งเป้าใช้กับการประเมินวิทยฐานะทุกระดับ
เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 59 ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ก.ค.ศ.) ที่มีพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(ก.ค.ศ.) ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณากรณีการนำโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
เพื่อใช้ในการตรวจสอบผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ยื่นขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ
เนื่องจากที่ผ่านมามีเสียงสะท้อนทั้งจากกรรมการผู้ประเมิน และกลุ่มข้าราชการผู้ทำผลงานวิชาการ
เพื่อส่งประเมินวิทยฐานะเองว่า ผลงานที่ส่งมาประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะนั้น
มีการลอกเลียนแบบ ทั้งลอกแบบเล็กน้อย และลอกแบบจำนวนมาก ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการและได้มอบหมายให้สำนักงาน
ก.ค.ศ.ไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมแล้วนำกลับมาเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป
“โปรแกรมที่จะนำมาใช้คงไม่ใช่การสร้างโปรแกรมขึ้นมาใหม่
เพราะปัจจุบันมีโปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนผลงานวิชาการ ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปและนิยมใช้แพร่หลาย
อาทิ โปรแกรมTURNITIN โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ฯลฯ ซึ่งสามารถตรวจสอบสิ่งพิมพ์ออนไลน์
ตรวจสอบได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ คาดว่าจะนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้กับการประเมินวิทยฐานะในทุกระดับ” ปลัด ศธ.กล่าว
---------------------------------
โปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม
(Plagiarism
Detection Software)
โปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรม
(Plagiarism Detection Software) เป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบผลงานเพื่อป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรม
Turnitin โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
(Plagiarism) แสดงผลการเทียบซ้ำเป็นระดับเปอร์เซ็นต์
พร้อมทั้งชี้แหล่งข้อมูลที่ซ้ำ ซึ่งแหล่งข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบมาจากอินเทอร์เน็ต บทความวารสารของสำนักพิมพ์ต่างๆ
และจากผลงานที่นักศึกษาทั่วโลกอัพโหลดขึ้นไปเก็บไว้ในคลังข้อมูลของ
Turnitin นอกจากนี้ยังสามารถจัดการและสร้างห้องเรียนออนไลน์ รวมทั้งประเมินและให้คะแนนผลงานของนักศึกษาผ่านทางออนไลน์
อักขราวิสุทธิ์ เป็นระบบตรวจจับการลักลอกวิทยานิพนธ์ โดยตัวระบบได้พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันการลักลอกงานเอกสารอันมีลิขสิทธิ์ในฐานข้อมูล
ระบบตรวจสอบความคล้ายคลึงของเอกสารจากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฐานข้อมูลวารสารวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฐานข้อมูลรายงานการวิจัยและหนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และฐานข้อมูลวิกิพีเดีย รองรับไฟล์ .doc หรือ .docx
และ pdf ที่มีขนาดไม่เกิน 50 MB การเข้าใช้งานให้กรอกชื่อ นามสกุล อีเมล์แอดเดรสของมหาวิทยาลัยเท่านั้น
และดาวน์โหลดไฟล์ที่ต้องการตรวจสอบ ระบบจะส่งอีเมล์แจ้งผลเมื่อตรวจสอบเสร็จสิ้น และสามารถรอดูรายงานผลการทดสอบเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นได้
|
-------------------------------------------
อักขราวิสุทธิ์ โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ (ความสามารถ)
คลิกที่นี่
ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบความคล้ายของผลงานทางวิชาการ
(ตรวจสอบออนไลน์) คลิกที่นี่