PISA
กับประเทศไทย : ความจริงที่ต้องยอมรับ
การสอบ PISA คือ อะไร
Programme for
International Student Assessment หรือ PISA เป็น โครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก
ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic
Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อม
สำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลก
ในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยจัดให้มีการทดสอบสมรรถนะเด็กนักเรียนวัย
15 ปี หรือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากทั่วโลก โดยเริ่มดำเนินโครงการ ตั้งแต่ ปี 2000 ในปีที่ผ่านมานักเรียนทั้งหมด
470,000 คน จากโรงเรียนต่างๆใน 65 ประเทศ
เข้าร่วมการประเมินเชิงเปรียบเทียบนี้ โดยทุกประเทศจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน
และมีการกำหนดพื้นที่ ขนาดโรงเรียนในการสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยPISA มีการประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ใน 3
ด้านคือการอ่าน (Reading Literacy) คณิตศาสตร์
(Mathematical Literacy) และวิทยาศาสตร์ (Scientific
Literacy) ซึ่งจะวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ
โดยแบ่งการประเมินเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 (Phase
I: PISA 2000 PISA 2003 และ PISA 2006) และรอบที่
2 (Phase II: PISA 2009 PISA 2012 และ PISA 2015) กล่าวคือ
การประเมินผลระยะที่
1
(PISA 2000 และ PISA
2009) เน้นด้านการอ่าน ให้น้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%
การประเมินผลระยะที่
2
(PISA 2003 และ PISA
2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60%
และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%
การประเมินผลระยะที่
3
(PISA 2006 และ PISA
2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60%
และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20%
ในแต่ละทักษะ ไม่ได้เน้นเรื่องของการการอ่านออกเขียนได้
การคิดเลขเป็น แต่ สิ่งที่ PISA เน้นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโจทย์ที่ซับซ้อนได้
(นภดล ยิ่งยงสกุล, https://sornordon.wordpress.com/)
PISA 2015 มีประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
72 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ และเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการสอบด้วยคอมพิวเตอร์
(Computer-based assessment หรือ CBA) เต็มรูปแบบ
สำหรับประเทศไทยได้เก็บข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 จากนักเรียนกลุ่มตัวอย่างอายุ
15 ปี จำนวน 8,249 คน ใน 273 โรงเรียนของทุกสังกัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบที่ประเมินความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน
ตั้งแต่ได้มีการเผยแพร่ผลการประเมิน PISA 2015 ไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสนใจกัน
เป็นจำนวนมาก และมีสื่อออกมาวิพากษ์ ระบบการศึกษาไทยกันอย่างหลากหลาย ทั้งนี้
ผลการวิจัยในโครงการ PISA ได้ เปิดเผยข้อเท็จจริงหลายประการเกี่ยวกับ
ระบบการศึกษาของไทย ซึ่งเป็นความจริงที่
คนไทยจะต้องยอมรับและน่าไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา ต้องยอมรับความจริงว่า
คุณภาพการศึกษาไทยยังห่างไกลความเป็นเลิศ การแก้ไขปรับปรุงจึงเป็นเรื่องรีบด่วน
ผลการวิจัยที่ชี้ ความอ่อนด้อยน่าจะเป็นจุดเริ่มของการแก้ไขที่ถูกจุดทั้งในด้านการจัดการทางการศึกษา
สังคมและวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมการไม่คิด เชิงวิพากษ์วิจารณ์ ความนิยมในการที่ต้องให้ผู้อื่นบอก
การกวดวิชาก็เป็นผลพวงจากความนิยมนี้ ตัวแปรเหล่านี้ ผลการวิจัยชี้ชัดว่า
ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพการศึกษา จาก FOCUS ประเด็นจาก
PISA : ฉบับที่ 18 (มิถุนายน 2560)
ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์
การอ่าน และคณิตศาสตร์ และแนวข้อสอบทั้งหมด คลิกที่นี่