การตั้งชื่อรายงานผลงานทางวิชาการ
เรียบเรียงโดย
ว่าที่ ร.ต.
ดร. ประสิทธิ์ รัตนสุภา
การตั้งชื่อรายงานผลงานทางวิชาการ
จากการที่ ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นรายงานการศึกษา ค้นคว้า หรือผลการวิจัยในชั้นเรียน หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียนและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ มีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนจำนวนไม่น้อยกว่า 1 รายการ ทั้งนี้ การประเมินผลงานทางวิชาการให้พิจารณาจากผลงานทางวิชาการที่ผู้ขอรับการประเมินเสนอและอาจให้ผู้ขอรับการประเมินนำเสนอและตอบข้อซักถามด้วยก็ได้
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวการนำเสนอผลงานทางวิชาการนิยมรายงานในรูปแบบงานวิจัย
5
บทซึ่งผู้ทำผลงานทางวิชาการมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งชื่อรายงานผลงานทางวิชาการผู้เรียบเรียงจึงได้เรียบเรียงการตั้งชื่อรายงานผลงานทางวิชาการโดยเริ่มจากองค์ความรู้ชื่อเรื่องวิจัย
บุญพิชชา จิตต์ภักดี (2559 : 4-5) ได้ศึกษาถึงการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจากนักการศึกษาสรุปได้ความว่า ชื่อเรื่องการวิจัย (research title) มีความสำคัญในการที่จะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้อยากติดตามเนื้อหางานวิจัย นอกจากนี้ ชื่อเรื่องวิจัยยังเป็นสื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจได้ว่า ผู้วิจัยต้องการค้นคว้าวิจัยอะไร หรือต้องการหาคำตอบ ในเรื่องอะไรบ้าง
ซึ่งประเด็นสำคัญที่อาจปรากฏในชื่อเรื่องการวิจัยคือ
ตัวแปรสำคัญที่ต้องการจะศึกษา ความเกี่ยวข้องของตัวแปรที่จะศึกษา และขอบเขตการศึกษาวิจัย
สำหรับเทคนิคในการเขียนชื่อเรื่องวิจัยนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นศิลปะของบุคคลที่จะต้องฝึกฝน แต่พอมีหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเรื่องการวิจัยดังนี้ 1) ชื่อเรื่องต้องบอกได้ว่าเป็นการศึกษาอะไร (what) กับใคร (who) หรือของใคร (for
whom) และถ้าชื่อเรื่องมีสถานที่หรือเวลาเกี่ยวข้อง ต้องระบุสถานที่ (where) และเวลา (time)
ด้วย 2) ชื่อเรื่องมักต้องขึ้นต้นด้วยนาม มากกว่าคำกริยาหรือคำคุณศัพท์เช่น ขึ้นต้นคำว่า การศึกษา
การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ
เป็นต้น 3) ชื่อเรื่องต้องใช้ภาษาที่ง่าย กะทัดรัด ชัดเจน และครอบคลุมปัญหาที่ศึกษาทั้งหมด 4) ชื่อเรื่องไม่ควรมีคำย่อ ต้องเขียนชื่อเรื่องวิจัยด้วยคำเต็มทั้งหมด เช่น ช.ม. ให้เขียนว่า “เชียงใหม่” ม.ช. ให้เขียนคำว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” และ 5) ชื่อเรื่องวิจัยที่เป็นภาษาไทย ควรเขียนด้วยภาษาไทยทั้งหมด ยกเว้นคำภาษาอังกฤษยังไม่มีคำแปลหรือคำเฉพาะอาจเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือเขียนทับศัพท์ได้
นิภา ศรีไพโรจน์
(2559 : 1) กล่าวถึงการตังชื่อเรื่องวิจัยความว่า ควรตั้งชื่อเรื่องวิจัยที่ประกอบด้วยข้อความเรียงที่สละสลวยได้ใจความสมบูรณ์ คือเป็นชื่อเรื่องที่ระบุให้ทราบตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการวิจัย ตัวแปร และกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาวิจัยด้วย เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการสอบคัดเลือกกับเกรดเฉลี่ยสะสมและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชั้นปีที่
1 ปีการศึกษา 2544
สรุปได้ว่าการตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีองค์ประกอบที่สำคัญที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
(ตัวแปรต้น
ตัวแปรตาม)
กับวิธีการดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่าง
เป้าหมายของการศึกษา
เช่น
“การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่
ที่มีต่อมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน”
เฉลิม ฟักอ่อน (2559 : 3)ได้กล่าวถึงชื่อรายงานผลงานทางวิชาการ
ความว่า
ส่วนใหญ่ผู้จัดทำผลงานทางวิชาการมักเขียนชื่อรายงานผลงานทางวิชาการว่า
“การพัฒนา.....(นวัตกรรม).......” ถ้าเขียนอย่างนี้ จะไม่สื่อ
ไม่ครบตามความหมายของผลงานทางวิชาการ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนานักเรียนที่รับผิดชอบ
ไม่ครอบคลุมถึง
จุดมุ่งหมายของผลงานทางวิชาการที่กำหนดในหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษที่กำหนดไว้ว่าผลงานทางวิชาการนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาด้านการเรียนของผู้เรียน
ดังนั้นการตั้งชื่อรายงานผลงานทางวิชาการ
ควรเป็น
“การพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชา........................................................
เรื่อง............................ของนักเรียนชั้น......................................
โดยใช้........(นวัตกรรม)...............................”
----------------------------------
บรรณานุกรม
เฉลิม
ฟักอ่อน.
“ข้อแนะนำในการทำผลงานทางวิชาการ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
:
https://www.gotoknow.org/posts/411842, 26 พฤษภาคม
2559.
นิภา
ศรีไพโรจน์. "การเลือกปัญหาในการวิจัย" [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
:
http://www.watpon.com/Elearning/res19.htm, 26 พฤษภาคม 2559.
บุญพิชชา จิตต์ภักดี. “การกำหนดปัญหา
วัตถุประสงค์
และสมมติฐานการวิจัย” [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก : http://portal.nurse.cmu.ac.th, 26 พฤษภาคม 2559.
เข้าถึงได้จาก : http://portal.nurse.cmu.ac.th, 26 พฤษภาคม 2559.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น