การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย : แผนการจัดการเรียนรู้
เรียบเรียงโดย
ว่าที่ ร.ต. ดร.ประสิทธิ์ รัตนสุภา
สัญญพงศ์
ลิ่มประเสริฐ และ ธัญลักษ์ รุจิภักดิ์ (2556
: 25-41)ได้กล่าวถึง การพัฒนาเครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์ความว่า เครื่องมือในการวิจัยเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการวิจัยทางสังคมศาสตร์
เนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการวัดค่าของตัวแปรในการวิจัย หรือใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลของตัวแปรการวิจัยทุกตัวแปร
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้นจะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงคุณภาพของการวิจัยได้เช่นกัน
กล่าวคือตัวแปรที่ใช้ในการศึกษานั้นได้ผ่านการพัฒนาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้ได้ตัวแปรที่สามารถนำมาใช้วัดได้จริงในการศึกษา
(Slavec & Drnovsek, 2012:
39-62 ) เมื่อพิจารณาปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับเครื่องมือนั้นยังขาดคุณภาพ
สิ่งที่สำคัญคือความตรง หรือความเที่ยงตรง (validity)
ของเครื่องมือนั่นเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจึงต้องเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้
กล่าวได้ว่าคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพิจารณาถึงความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
รวมทั้งการยอมรับข้อมูลหรือค่าของตัวแปรที่นำไปใช้ ดังนั้น การวิจัยที่ดีจำเป็นจะต้องมีการทดสอบความตรงของมาตรวัดที่ใช้ในการศึกษา
หรืออาจกล่าวได้ว่าเครื่องมือหรือมาตรวัดสามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัด แต่ถ้าเครื่องมือในการวัดขาดความตรงแล้ว
ผลสรุปจากข้อมูลในการวิจัยนั้นๆ ย่อมต้องผิดพลาดอย่างแน่นอน (บุญเรียง ขจรศิลป์, 2550 : 2-5) การตรวจสอบคุณภาพด้านเนื้อหาของเครื่องมือหรือมาตรวัดนั้น สิ่งที่ควรพิจารณาอันดับแรกคือเรื่องของบุคคล
หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาทำการตรวจสอบคุณภาพในด้านเนื้อหาของเครื่องมือ ผู้ทรงคุณวุฒินั้นควรที่จะเป็นบุคคลที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเรื่องนั้น
ๆ (Dillman et al., 2009: 276)
ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้
ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ต้องตรวจสอบความเหมาะสม
(เฉลิม ฟักอ่อน, https://www.gotoknow.org/posts/411842, 28 พ.ค. 2559) การหาความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อีกประการหนึ่งโดยผู้เชี่ยวชาญ
3-5 คนประเมินใช้มาตราส่วนประมาณค่า
(Rating Scale) มีระดับการประเมิน 5 ระดับ โดยให้ความเหมาะสม
ดังนี้ เหมาะสมมากที่สุด ให้ 5 คะแนน เหมาะสมมาก ให้ 4
คะแนน เหมาะสมปานกลางให้ 3 คะแนน เหมาะสมน้อยให้ 2 คะแนน และ เหมาะสมน้อยที่สุดให้ 1 คะแนน โดยเกณฑ์การยอมรับความเหมาะสม
จะพิจารณาจากค่าเฉลี่ยคำถามแต่ละข้อ หากข้อใดมีค่าเฉลี่ย “ดี” ถึง “ดีมาก” จึงจะ ยอมรับ นอกจากนั้นค่าเฉลี่ยรวมจะต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์
“ดี” ซึ่งกำหนดค่าเฉลี่ยดังนี้ คะแนน
1.00-1.50 หมายถึงความเหมาะสมควรปรับปรุง คะแนน 1.51-2.50 หมายถึงความเหมาะสมพอใช้ คะแนน 2.51-3.50 หมายถึงความเหมาะสมปานกลาง
คะแนน 3.51-4.50 หมายถึงความเหมาะสมดี คะแนน 4.51-5.00
หมายถึงความเหมาะสมดีมาก (บุญชม ศรีสะอาด,
2553 : 102) ดังนั้น เกณฑ์ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้จึงต้องมีค่าตั้งแต่ 3.51
ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เปรียบได้กับพิมพ์เขียวของวิศวกรหรือสถาปนิกที่ใช้เป็นหลักในการควบคุมงานก่อสร้าง
วิศวกรหรือสถาปนิกจะขาดพิมพ์เขียวไม่ได้ฉันใด ผู้เป็นครูก็จะขาดแผนการจัดการเรียนรู้ไม่ได้ฉันนั้น
ยิ่งผู้สอนได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ก็ยิ่งให้ประโยชน์แก่ตนเองมากเพียงนั้น การวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นงานสำคัญของครูผู้สอน
การสอนจะประสบผลสำเร็จด้วยดีหรือไม่มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดการเรียนรู้
ถ้าผู้สอนมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีก็เท่ากับบรรลุจุดหมายปลายทางไปแล้วครึ่งหนึ่ง
ความหมายของการวางแผนการจัดการเรียนรู้
การวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการจัดวางโปรแกรมการสอนทั้งหมดในวิชาใดวิชาหนึ่งไว้ล่วงหน้า
เพื่อช่วยให้ครูผู้สอนได้จัดดำเนินกระบวนการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่วางไว้
ดังนั้นในแผนการจัดการเรียนรู้จะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดตามที่หลักสูตรกำหนดไว้
เช่น มีจุดประสงค์ความคิดรวบยอด/หลักการ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน การวัดผล/ประเมินผล และจำนวนคาบเวลาที่ใช้สอน
ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องจัดรวมไว้อย่างมีระบบระเบียบในแผนการจัดการเรียนรู้ (เขียน วันทนียตระกูล, http://www.lanna.mbu.ac.th/artilces/PlanBU_Khean.asp, 20 พฤษภาคม
2559)
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนจัดการเรียนรู้ควรมีองค์ประกอบอย่างน้อย
ดังนี้
กลุ่มสาระการเรียนรู้.......................................................ภาคเรียนที่......ปีการศึกษา......
รหัสวิชา.....................รายวิชา..........................................................ชั้นมัธยมศึกษาปีที่......
หน่วยการเรียนรู้ที่.........ชื่อหน่วย................................................................เวลา........ชั่วโมง
แผนที่จัดการเรียนรู้ที่.........เรื่อง...................................................................เวลา........ชั่วโมง
1. เป้าหมายการเรียนรู้
1.1
สาระที่…..
1.2
มาตรฐานการเรียนรู้
1.3
ตัวชี้วัดชั้นปี/ตัวชี้วัดช่วงชั้น/ผลการเรียนรู้
1.4
จุดประสงค์การเรียนรู้ (K, P, A, C)
2. สาระสำคัญ/แนวคิดหลัก
3. สาระการเรียนรู้
4. หลักฐานการเรียนรู้
5. การวัดผลประเมินผล
5.1
ด้านความรู้ (K)
5.2 ด้านทักษะ (P
or S)
5.3 คุณลักษณะ (A)
5.4 สมรรถนะ (C)
6. กระบวนการเรียนรู้
7. กิจกรรมการเรียนรู้
8. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
9. กิจกรรมเสนอแนะ
การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
ศึกษาหนังสือ
วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เช่นหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนรู้
ปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ วิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากผู้เรียน จากเอกสารที่เกี่ยวข้องได้แก่หลักสูตรแกนกลาง ฯ หลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น การวิเคราะห์หลักสูตร ธรรมชาติของกลุ่มสาระที่จัดทำ
การวัดผลและการประเมินผล แหล่งเรียนรู้และสื่อ องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
การหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือวิจัยชนิดหนึ่ง
สามารถหาคุณภาพได้โดยการหาความความเหมาะสมโดยดำเนินการ ดังนี้
1. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเนื้อหาในแต่ละตอนตรงกับองค์ประกอบและมีความเหมาะสมหรือไม่ จากนั้นจึงมาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป
2. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 คน พิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมโดยพิจารณาให้คะแนน
ดังนี้ เหมาะสมมากที่สุดให้ 5 คะแนน
เหมาะสมมากให้ 4 คะแนน เหมาะสมปานกลางให้ 3 คะแนน เหมาะสมน้อยให้
2 คะแนน และ เหมาะสมน้อยที่สุดให้ 1 คะแนน
3. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้วมาหาค่าเฉลี่ย
โดยคัดเลือกเฉพาะข้อความที่มีค่าคะแนนความเหมาะสมตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป (บุญชม ศรีสะอาด, 2553 : 102)
มาใช้ ส่วนข้อความที่มีค่าความเหมาะสมต่ำกว่า 3.51 นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
ตารางที่ 1 ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้
แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ เพื่อจะได้นำความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
นำมาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ได้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้
วิชา......................สำหรับนักเรียนชั้น...................ตามแผนการเรียนรู้ที่.........
เรื่อง...................................................เวลา...................คาบ/ชั่วโมง
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ü
ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน ซึ่งมี 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง มีระดับความเหมาะสม มากที่สุด
4 หมายถึง มีระดับความเหมาะสม มาก
3 หมายถึง มีระดับความเหมาะสม ปานกลาง
2 หมายถึง มีระดับความเหมาะสม น้อย
1 หมายถึง มีระดับความเหมาะสม น้อยที่สุด
รายการประเมิน
|
ระดับความเหมาะสม
|
ข้อเสนอแนะ
|
||||
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
||
1.
ด้านเป้าหมายการเรียนรู้
|
||||||
1.1 สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช
2551
|
||||||
1.2 มีการระบุสาระที่..,/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
|
||||||
2. ด้านจุดประสงค์การเรียนรู้
2.1
เขียนเป็นข้อความที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
|
||||||
2.2
สอดคล้อง และครอบคลุมตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
|
||||||
2.3 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
||||||
2.4
ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และสมรรถนะตามหลักสูตร
|
||||||
2.5 สามารถวัดผลและประเมินผลได้
|
||||||
3. ด้านสาระสำคัญ/แนวคิดหลัก
|
||||||
3.1 มีความถูกต้อง
|
||||||
3.2 มีความชัดเจนเข้าใจง่าย
|
||||||
3.3 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
||||||
4. ด้านสาระการเรียนรู้
4.1 ถูกต้อง และชัดเจน
|
||||||
4.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
||||||
4.3 เหมาะสมกับระดับ และวัยของผู้เรียน
|
||||||
4.4 เหมาะสมกับเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
|
||||||
4.5 มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน
|
||||||
5. ด้านหลักฐานการเรียนรู้
5.1 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
||||||
5.2 เหมาะสมกับระดับ
และวัยของผู้เรียน
|
||||||
5.3 ภาระงาน/ชิ้นงานเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้
|
||||||
5.4 จำนวนภาระงาน/ชิ้นงาน
|
||||||
6. ด้านการวัดผลประเมินผล
6.1 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
||||||
6.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
||||||
6.3 วิธีวัดผลประเมินผล เครื่องมือวัดผลประเมินผล
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้
|
||||||
6.4 แบบวัดผลประเมินผลครอบคลุมทั้งด้านความรู้
ทักษะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และสมรรถนะตามหลักสูตร
|
||||||
6.5
เกณฑ์การวัดผลประเมินผลครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และสมรรถนะตามหลักสูตร
|
||||||
7. ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้
7.1 สอดคล้องกับนวตกรรม
|
||||||
7.2 สอดคล้องกับจุดเน้นของกลุ่มสาระการเรียนรู้
|
||||||
7.3 มีความเหมาะสมกับระดับ และวัยของผู้เรียน
|
||||||
7.4
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
|
||||||
8. ด้านกิจกรรมการเรียนรู้
8.1 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้
|
||||||
8.2 ลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับกระบวนการจัดการ
เรียนรู้
|
||||||
8.3 มีความยาก
ง่าย เหมาะสมกับเวลา และระดับชั้นเรียน
|
||||||
8.4
มีการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการคิด การลงมือปฏิบัติ
และสร้างองค์ความรู้
|
||||||
8.5
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
|
||||||
9. ด้านสื่อ/แหล่งเรียนรู้
9.1
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
||||||
9.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
||||||
9.3 สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
|
||||||
9.4 มีความหลากหลากหลาย สอดคล้องกับวัย
และความสามารถ
ของผู้เรียน
|
||||||
9.5
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้
|
ตารางที่ 2 ตัวอย่างการนำเสนอผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ
วิชา......................สำหรับนักเรียนชั้น...................ตามแผนการเรียนรู้ที่.........
เรื่อง...................................................เวลา...................คาบ/ชั่วโมง
รายการประเมิน
|
x̄
|
S.D.
|
ระดับความเหมาะสม
|
1.
ด้านเป้าหมายการเรียนรู้
1.1 สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช
2551
|
|||
1.2 มีการระบุสาระที่..,/มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
|
|||
2. ด้านจุดประสงค์การเรียนรู้
2.1
เขียนเป็นข้อความที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
|
|||
2.2
สอดคล้อง และครอบคลุมตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
|
|||
2.3 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
|||
2.4
ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และสมรรถนะตามหลักสูตร
|
|||
2.5 สามารถวัดผลและประเมินผลได้
|
|||
3. ด้านสาระสำคัญ/แนวคิดหลัก
|
|||
3.1 มีความถูกต้อง
|
|||
3.2 มีความชัดเจนเข้าใจง่าย
|
|||
3.3 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
|||
4. ด้านสาระการเรียนรู้
4.1 ถูกต้อง และชัดเจน
|
|||
4.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
|||
4.3 เหมาะสมกับระดับ และวัยของผู้เรียน
|
|||
4.4 เหมาะสมกับเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
|
|||
4.5 มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน
|
|||
5. ด้านหลักฐานการเรียนรู้
5.1 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
|||
5.2 เหมาะสมกับระดับ
และวัยของผู้เรียน
|
|||
5.3 ภาระงาน/ชิ้นงานเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้
|
|||
5.4 จำนวนภาระงาน/ชิ้นงาน
|
|||
6. ด้านการวัดผลประเมินผล
6.1 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
|||
6.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
|||
6.3 วิธีวัดผลประเมินผล เครื่องมือวัดผลประเมินผลสอดคล้อง
กับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้
|
|||
6.4 แบบวัดผลประเมินผลครอบคลุมทั้งด้านความรู้
ทักษะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และสมรรถนะตามหลักสูตร
|
|||
6.5
เกณฑ์การวัดผลประเมินผลครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และสมรรถนะตามหลักสูตร
|
|||
7. ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้
7.1 สอดคล้องกับนวตกรรม
|
|||
7.2 สอดคล้องกับจุดเน้นของกลุ่มสาระการเรียนรู้
|
|||
7.3 มีความเหมาะสมกับระดับ และวัยของผู้เรียน
|
|||
7.4
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
|
|||
8. ด้านกิจกรรมการเรียนรู้
8.1 สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้
|
|||
8.2 ลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับกระบวนการ
จัดการเรียนรู้
|
|||
8.3 มีความยาก
ง่าย เหมาะสมกับเวลา และระดับชั้นเรียน
|
|||
8.4
มีการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการคิด การลงมือปฏิบัติ
และสร้างองค์ความรู้
|
|||
8.5
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
|
|||
9. ด้านสื่อ/แหล่งเรียนรู้
9.1
สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้
|
|||
9.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้
|
|||
9.3 สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
|
|||
9.4 มีความหลากหลากหลาย สอดคล้องกับวัย
และความสามารถ
ของผู้เรียน
|
|||
9.5
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้
|
---------------------------------------
บรรณานุกรม
เขียน วันทนียตระกูล. “การเขียนแผนการสอน คือภารกิจของครู” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :
http://www.lanna.mbu.ac.th/artilces/PlanBU_Khean.asp,
20 พฤษภาคม 2559.
เฉลิม
ฟักอ่อน.
“ข้อแนะนำในการทำผลงานทางวิชาการ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :
บุญชม ศรีสะอาด.(2553). วิจัยเบื้องต้น.
พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญเรียง ขจรศิลป์.
(2550). “ทำวิจัยอย่างไรให้มีคุณภาพ : ความคลาดเคลื่อนในการทำงานวิจัย
ทางการศึกษา,” ในเทคนิคการทำวิจัยในสถานศึกษาอย่างมืออาชีพ. คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ และ ธัญลักษ์
รุจิภักดิ์ . “การพัฒนาเครื่องมือวิจัยทางสังคมศาสตร์.”
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (เมษายน – กันยายน 2556) : 25-41.
Dillman,
D.A., Smyth, J.D. & Christain, L.M.. (2009). Internet, mail, and mixed-mode surveys:
the tailored design method. 3 th ed. Hoboken, N.J: John Wiley & Sons.
Slavec,
A.,& Drnovsek, M. (2012). A Perspective on Scale Development in
Entrepreneurship
Research.Economic
and Business Review. 14 (1) : 39-62.
---------------------------------------------------
ตัวอย่าง
1. ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดเพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
2. ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.ตารางกำหนดการวัดและประเมินผลรายวิชา 4.โครงสร้างการจัดแผนการจัดการเรียนรู้/เวลาเรียน/คะแนน 5.สารบรรณ เอกสารประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
(นวัตกรรม) ................................(เล่มแผนการจัดการเรียนรู้) 6.
การกำหนดโครงสร้างข้อสอบ
( Table of
Specification หรือ Test blueprint) 7.
สารบรรณเล่มนวัตกรรม...............
(ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น) และ8. สารบัญชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ 7
ขั้น วิชาชีววิทยา คลิกที่นี่
ขอบคุรค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบ