วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย : นวัตกรรม



                       การสร้างแลพัฒนาครื่องมือวิจัย : นวัตกรรม

เรียบเรียงโดย ว่าที่ .. ดร.ประสิทธิ์  รัตนสุภา

1. การสร้างเครื่อมือ

1.1 ศึกราเอียดกี่วกับเรื่องที่จะทำ จาอการที่กี่ข้องได้แก่ หนังสือ

วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าจกับเนื้หาที่กำลังทำารวิจัยและนำมาสร้างนวัตกรรม

 2.  การทดสบเครื่งมือ

      2.1 หาความตรง (Validity)  

                2.1.1 นำนวัตกรรมที่ผู้วิจัยร้างขึ้นปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญกี่กับข้อความแต่ละตอน งตามจุดปรค์ขารศึษาหรือม่ จากนั้นจึงมาแก้ขปรับปรุงให้เหมามยิ่งขึ้น เพื่อดำเนินการในขั้นต่

                2.1.2 นำนวัตกรรมที่รับปรุงแก้ไขแล้วให้ผู้เชี่าญ 3-5 คนพิจารณาจส

ความตรงงเนื้หา (IOC)

            2.1.3 นำนวัตกรรมที่ผู้เชี่ยวชาญแล้วมาหาค่าดัชนีคล้อง (Index of

Item-Objective Congruence : IOC)  คัดเลือกะข้อความที่มีค่าดัชนีความสอดล้อง ระหว่างข้ความกับจุดประสงค์ตั้งแต่ 0.5 ขี้ไป มาใช้ ส่วนข้อความที่มีค่า ICQ น้อยว่า 0.5 นำมาปรับปรุงให้เหมาสมตามคำแนนำขงผู้เชี่ยวชาญ

การแปลความหมายขงคแนนที่ด้

      +1 เมื่แน่ใจว่าข้อคำามนั้นวัดด้ตรงตามจุดประสงค์

       0  เมื่ม่แน่ใจว่าข้คำามนั้นวัดด้ตรงตามจุดประสงค์

      -1  เมื่แน่ใจว่าข้ความถานั้นัดด้ม่ตรงตามจุดประสงค์

2.2 ทดสอบหาประสิทธิภาพ

การพัฒนาต้นแบบชิ้นงาน (Prototype) ใหม่หรือนวัตกรรม สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ก่อนที่จะนำมาเผยแพร่หรือใช้จริง จำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการควบคุมและประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าต้นแบบชิ้นงานของผลิตภัณฑ์และบริการใหม่นั้นมีประสิทธิภาพจริงเรียกว่าการทดสอบประสิทธิภาพ (Developmental Testing) การผลิตสื่อและชุดการสอนที่เป็นต้นแบบชิ้นงานใหม่ก็เช่นเดียวกัน จำเป็นที่ต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพก่อนที่จะให้ครูนำไปใช้กับนักเรียน โดยดำเนินการตามกระบวนการ 2 ขั้นตอนคือการทดลองใช้เบื้องต้น (Tryout) และการทดลองใช้จริง (Trial Run) ใช้แนวคิด วิธีการทดสอบประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร E1/ E2 สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process-E1)และทดสอบประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Product-E2) ในขั้นทดลองใช้เบื้องต้น แบบเดี่ยว (1:1) แบบกลุ่ม(1:10) และแบบสนาม (1:100) และการนำสื่อหรือชุดการสอนที่ทดสอบผ่านเกณฑ์ความก้าวหน้าทางการเรียน เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 ตามเกณฑ์ 90/90, 85/85 สำหรับวิทยพิสัยหรือพุทธิพิสัย, 80/80 และ 75/75 สำหรับทักษพิสัยและจิตพิสัย  แล้วไปทดลองใช้จริงในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา (ชัยยงค์  พรหมวงค์, 2556 : หน้าแทรก 1) สำหรับการทดสอบหาประสิทธิภาพนวตกรรม มี 3 ขั้นตอนดังนี้

                2.2.1 การทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว (1:1) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน1-3 คน โดยใช้เด็กเรียนอ่อน เด็กเรียนปานกลาง และเด็กเรียนเก่ง ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน หาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น โดยปกติคะแนนที่ได้จากการทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยวนี้จะได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์มาก แต่ไม่ต้องวิตกเมื่อปรับปรุงแล้วจะสูงขึ้นมาก ก่อนนำไปทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม ทั้งนี้    E1/ E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 60/60

                     2.2.2 การทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม (1:10) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียน 6–10 คน (คละผู้เรียนที่เรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง) ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน หลังจากทดสอบประสิทธิภาพให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและประเมินผลลัพธ์คือการทดสอบหลังเรียนและงานสุดท้ายที่มอบให้นักเรียนทำส่ง ก่อนสอบประจำหน่วยให้นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพหากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุง ในคราวนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณ 10% นั่นคือ E1/ E2 ที่ได้จะมีค่าประมาณ 70/70

                     2.2.3 การทดสอบประสิทธิภาพภาคสนาม (1:100) เป็นการทดสอบประสิทธิภาพที่ผู้สอน 1 คนทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอนกับผู้เรียนทั้งชั้น ระหว่างทดสอบประสิทธิภาพให้จับเวลาในการประกอบกิจกรรม สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน หลังจากทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามแล้ว ให้ประเมินการเรียนจากกระบวนการ คือกิจกรรมหรือภารกิจและงานที่มอบให้ทำและทดสอบหลังเรียน นำคะแนนมาคำนวณหาประสิทธิภาพ หากไม่ถึงเกณฑ์ต้องปรับปรุงเนื้อหาสาระ กิจกรรมระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนให้ดีขึ้น แล้วนำไปทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ำกับนักเรียนต่างกลุ่ม อาจทดสอบประสิทธิภาพ 2-3 ครั้ง จนได้ค่าประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ ปกติไม่น่าจะทดสอบประสิทธิภาพเกินสามครั้ง ด้วยเหตุนี้ ขั้นทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามจึงแทนด้วย 1:100 ผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำจากเกณฑ์ไม่เกิน 2.5% ก็ให้ยอมรับว่า สื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หากค่าที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า -2.5ให้ปรับปรุงและทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามซ้ำจนกว่าจะถึงเกณฑ์ จะหยุดปรับปรุงแล้วสรุปว่าชุดการสอนไม่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือจะลดเกณฑ์ลงเพราะ      “ถอดใจหรือยอมแพ้ไม่ได้ หากสูงกว่าเกณฑ์ไม่เกิน +2.5 ก็ยอมรับว่าสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้หากค่าที่ได้สูงกว่าเกณฑ์เกิน +2.5 ให้ปรับเกณฑ์ขึ้นไปอีกหนึ่งขั้น เช่น ตั้งไว้ 80/80 ก็ให้ปรับขึ้นเป็น85/85 หรือ 90/90 ตามค่าประสิทธิภาพที่ทดสอบประสิทธิภาพได้



--------------------------------



บรรณานุกรม



ชัยยงค์  พรหมวงค์. “ วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัยปีที่ 5 (มกราคมมิถุนายน 2556) : 7-20.

             . (2520). ระบบสื่อการสอน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า135-143.

-------------------------


1. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน (Developmental Testing of Media and Instructional Package)    
    โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ คลิกที่นี่

2. สรุปขั้นตอนการสร้าง พัฒนา และการนำนวัตกรรมไปใช้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
 คลิกที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น